Welcome to blogspot is Miss Bunyaporn Ponlakorn

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Research

Critical Thinking Ability Of Early Childhood Children Enhancing Out Door Science Process Actives
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ผู้วิจัย สุมาลี หมวดไธสง
จุดมุ่งหมายในการวิจัย
   เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยายาศาสตร์นอกห้องเรียน
กลุ่มตัวอย่าง
   นักเรียนชาย-หญิง อายุ5-6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2553 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) โดยการจับสลาก นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่่ 3 มา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คนจากจำนวนห้องเรียน 5 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1.แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
   2.แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย
     2.1 การจัดหมวดหมู่
     2.2 การหาความสัมพันธ์
นิยามศัพท์เฉพาะ
   1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ5-6ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 
   2.การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการศึกษาหาความรู้ผ่านกระบวนการวิทยาศาตร์โดยพานักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน เพื่อศึกษาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกห้องเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเกิดความรู้จากประสบการณ์ตรงในสภาพที่เป็นจริง จะบูรณาการการจัดกิจกรรมแต่ละวันตามขั้นตอนดังนี้
          1.ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน โดยการสนทนากระตุ้นให้เด็กคิด
          2.ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นการนำเอาวิธีการสอนแบบเล่านิทาน แบบอภิปราย แบบสาธิต การเล่นเกม การปฏิบัติ ทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนเข้ามาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาคำตอบ
          3.ขั้นสรุปผล เป็นการสรุปผลหลังจากการเล่านิทาน การอภิปราย การสาธิต การเล่นเกม การปฏิบัติทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนโดยเด็กและครูสนทนาร่วมกันเพื่อนำไปสู่การสรุปผล
   3.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งดสิ่งหนึ่งเพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริง
ระยะเวลาในการวิจัย
   ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 40 นาที
ข้อเสนอแนะ
   ครูควรมีบทบาทในเารเตรียมความพร้อมเด็กและกระตุ้นการทำกิจกรรมต่างๆ โดยให้เด็กมีการกระตือรือร้น เพื่อให้เกิดทักษะด้านต่างๆและควรสังเกตการทำงานของเด็กจากการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็นและครูก็มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น