Welcome to blogspot is Miss Bunyaporn Ponlakorn

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Class 15

Science Experiences Management for Early Childhood
Go to class :1.00 PM.     Out to class :4.40 PM.

Activity 1



Activity 2 Design สานสัมพันธ์Home and School

Applications
   I Can Use Questions ในการตั้งคำถามกับเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ การคิดแก้ปัญหาซึ่่งจะก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอย่าง การตั้งคำถามเราสามารถจะสอดแทรกได้ในทุกๆกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเสริมประสบการณ์ อาจจะเป็นการตั้งคำถามเพื่อสอบถามประสบการณ์เดิมและตรวจสอบความรู้ใหม่ของเด็กหลังจากการที่เราจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กว่าเด็กมีการรับรู้ความรู้ไปมากน้อยเพียงใด สำหรับการนำไปใช้ของแผ่นพับสารสัมพันธ์ Home and School จะทำให้การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกัน จะเป็นการนำความรู้จากโรงเรียนไปสู่ผู้ปกครอง ทำให้เราสามารถแนะนำแนวการสอนให้กับผู้ปกครองได้เข้าใจทั้งในหลักการสอนของโรงเรียน และหลักการสอนจากตัวผู้ปกครองเอง
Evaluate
   Me ในคาบนี้ซึ่งจะเป็นคาบสุดท้ายของรายวิชานี้ สามารถประเมินตนเองในหลายๆด้าน โดยในด้านความรู้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นก่อนการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้รู้ถึงการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก และเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น ด้านพฤติกรรม มาเข้าเรียนก่อนเวลาและตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์และเพื่อนๆ ขณะทำกิจกรรมต่างๆเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด ในด้านการนำความรู้ไปใช้ ในความคิดของดิฉันในเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สามารถสอดแทรกในทุกๆกิจกรรมของเด็กเพราะวิทยาศาสตร์คือสิ่งรอบๆ เพียงแต่เราจะมีความสามารถมากแค่ไหนในการจะจัดประสบการณ์
   Friends
     เพื่อนๆ ดูเหมือนจะรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เรียนคาบนี้เป็นวันสุดท้าย อาจเพราะโล่งใจในการทำงาน การเรียนด้วย แต่ก็มีความตั้งใจในการฟังอาจารย์สอนในเรื่องการใช้คำถามกับเด็ก และในเรื่องการทำแผ่นพับเพื่อนๆก็มีความตั้งใจในการทำงาน ซึ่งดิฉันเชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนจะสามารถเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเองได้มากที่สุด
   Teacher
     อาจารย์มีการสอนเทคนิคต่างๆในการสอน การสืบค้นหาข้อมูลที่จะนำไปปรับใช้กับการสอนของนักศึกษา
Technical of Teacher
      จากครั้งแรกที่เรียนจนคาบเรียนครั้งสุดท้ายนี้ ทำให้รู้สึกถึงความหวังดีของอาจารย์ความปรารถนาดีของอาจารย์ และเทคนิคต่างๆที่อาจารย์มอบให้กับนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคำพูดซ้ำๆที่ทำให้นักศึกษาจำหลักการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นท่าทางน่ารักๆของอาจารย์ตลอดจนมุกตลกๆของอาจารย์ที่บางครั้งทำให้ดิฉันขำบางไม่ขำบ้างแต่ทำให้นักศึกษามีความสุขในการเรียน หลักการสอนแบบให้นักศึกษาประหยัดเพราะครูลูก4สามี8 เราต้องรู้จักการประยุกต์ใช้และเทคนิคต่างๆในการสอนเพื่อการสอนที่ทั้งประหยัดและบูรณาการ

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Class 14

Science Experiences Management for Early Childhood

Go to class:1.00 PM.     Out to class:5.00 PM.
Activity 1
 Teacher ให้นักศึกษานำ Science Toy มาส่ง โดยทำการแยกเป็น 4 Kind(ชนิด) ได้แก่ 1.แรงโน้มถ่วง(จุดศูนย์ถ่วง) 2.แรงดันอากาศ/ลม 3.พลังงาน 4.เสียง 5.น้ำ
Activity 2 Present TV teacher and Research
1.นางสาวนิศากร บัวกลาง
ชื่อวิจัย ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
วัตถุประสงค์   1.เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ 1.การสังเกต
                                           2.การจำแนกประเภท
                                           3.การวัด
                                           4.การลงความเห็น
2.นางสาวอินธุอร ศรีบุญชัย
ชื่อวิจัย การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่ 2
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่2
                     2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลัง
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ 1.การจำแนก
                                           2.การวัด
                                           3.การลงความเห็น
3.นางสาวดวงกมล คันตะลี
ชือวิจัย ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน Click Here 
ตัวแปรต้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ตัวแปรตาม การคิดวิเคราะห์
นิยามศัพท์
การคิดวิเคราะห์:ความสามารถในการจำแนกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แยกแยะความเหมือนความต่าง
ตัวอย่างหน่วย
1.แว่นขยายเห็นชัดเจน 1.1ให้เด็กสำรวจสิ่งแวดล้อม
                                     1.2 ให้แว่นขยายเพื่อให้เด็กไปสำรวจ
                                     1.3 ให้เด็กศึกษารายละเอียดของสิ่งที่นำมา
                                     1.4 ครูใช้คำถาม
                                     1.5 ให้เด็กวาดภาพสิ่งที่เด็กๆไปสำรวจ
                                     1.6 นำออกมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง
4.นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม
ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร Click Here
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ 1.การสังเกต
                                           2.การจำแนก
                                           3.การวัด
                                           4.การสรุปข้อมูล
วิธีการสอน ขั้นนำ นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการร้องเพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทายและสื่อต่างๆ
                  ขั้นสอน 1.ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์
                               2.ครูแนะนำกิจกรรมการทำน้ำฝรั่ง พร้อมวิธีการทำอย่างละเอียด
                               3.ครูและเด็กร่วมกันทำน้ำฝรั่ง
                               4.ครูและเด็กกร่วมกันรับประทานน้ำฝรั่่ง
                  ขั้นสรุป 1.ครูใช้คำถามกับเด็ก
                               2.ครูและเด็กร่วมกันสรุปวิธีการทำน้ำฝรั่ง
5.นางสาวพิชาพร แก้วน้อย
ชื่อโทรทัศน์ครู กิจกรรมส่องนกในโรงเรียน
   เด็กจะได้สัมผัสกับธรรมชาติ สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว การให้อาหารนก รู้ลักษณะต่างๆของนก
วิธีการสอน ขั้นนำ เด็กๆเรียนรู้ชื่อนกและลักษณะของนกจากครู
                  ขั้นสอน 1.ครูให้เด็กไปสำรวจนก
                               2.เด็กส่องนกพร้อมกับจดบันทึก
                  ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันสรุปนกที่ได้พบเจอมา
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ 1.การสังเกต
                                           2.การจำแนก
                                           3.การสื่อความหมายข้อมูล
                                           4.การลงความเห็น
6.นางสาวภัสสร ศรีพวาทกุล
ชื่อโทรทัศน์ครู สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ Click here
วิธีการปลุกฝัง จัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ให้เด็กสังเกตสิ่งรอบๆตัว ให้มีความรอบคอบ ชอบสังเกต ชอบซักถาม
7.นางสาวสิโรธร ลอองเอก
ชื่อโทรทัศน์ครู จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย Click Here
หลักการสอน
-สอนให้สนุก
-ไม่ไกลตัวเด็ก
-ให้เด็กได้ทดลอง
-ให้เด็กได้จดจำ
Activity 3 cooking is Waffles

Making Waffles
Waffles Yummy
Applications 
  I Can Use ความรู้ในการเรียนในส่วนเรื่องของวิจัย สามารถนำการจัดประสบการณ์แต่ละวิจัยไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในภายภาคหน้าต่อไป ยังสามารถนำหลักการสอนในเรื่องการทำ Cooking "Waffles" ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ในแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติกิจกรรม เพื่อความสอดคล้องในธรรมชาติของเด็ก ที่การเรียนรู้ของเด็กคือการได้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และในเรื่องของโทรทัศน์ครูนั้นเป็นการที่จะทำให้รู้ถึงเทคนิคการสอนในเรื่องจิตวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดความรักและสนุกในการเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไป
Evaluate
   Me มีการจดจำเนื้อหาในละเอียดของเพื่อน พยายามจดเนื้อหาเท่าที่จะจดได้โดยการจดตามแบบของตนเองซึ่งจะเป็นวิธีการจำที่เข้าใจได้มากที่สุด คือการจดแบบย่อๆ เฉพาะคำศัพท์ที่สำคัญ Keyword 
   Friends
     ยังมีเพื่อนบางคนไม่ได้เอา Toy Science มาSent Teacher แต่อาจารย์ก็อนุญาติให้นำมาส่งในอาทิตย์หน้าและในขณะที่เพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ก็ต่างหาข้อมูลดีๆมานำเสนอเพื่อที่จะให้เพื่อนๆคนอื่นๆนำไปใช้ได้
   Teacher
     อาจารย์มีการฟังเหตุผลของนักศึกษา เพราะทุกคนอาจมีเหตุผลของตนเอง "คนเราไม่ได้เก่งมาตั้งแต่ต้นทุกคนแต่ทุกคนสามารถพัฒนาได้ เป็นครูที่ดีได้"
Technical of Teacher
   มีการให้นักศึกษานำเสนอข้อความรู้ของตนเองที่ได้หามาก่อนและถ้านักศึกษายังได้ข้อมูลที่ยังไมถูกอาจารย์ก็มีการแนะนำการสืบค้นข้อมูล และเสนอข้อความรู้ให้กับนักศึกษา 

     "เมื่อคนอื่นเป็นครูอนุบาลที่ดีได้ เราก็ต้องเป็นครูอนุบาลที่ดีได้เหมือนกัน" 

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Class 13

Science Experience Management for Early Childhood
Go to class:13.15 PM.     Out to class:16.40 PM.
Date 14 November 2014

 Activity 1
     เพื่อนอธิบายหลังการของกังหันมหัศจรรย์
หลักการ ความหนาแน่นของเชือกที่เกิดการสะสมของพลังงงาน ยิ่งถ้าเราหมุนมากแรงเชือกที่ผลักออกก็จะยิ่งมากทำให้รอบของการหมุนมากยิ่งขึ้น
Activity 2 Present Plan
Group 1  Kind of Toothbrush



สอนเรื่อง ชนิดของแปรงสีฟัน
ขั้นนำ นำด้วยMusic
     "สวัสดีคุณครูที่รัก        หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
      หนูจะตั้งใจอ่านเขียน ทุกเช้าเรามาโรงเรียน
      หนูจะพากเพียร          ขยันเรียนเอย"
ต่อด้วยคำคล้องจอง
  แปรงสีฟันมีหลายชนิด  แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
  แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น       รวดเร็วพลันใช้ได้ดี
  แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี      สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน (หลังจากนั้นครูใช้คำถามจากเนื้อหาคำคล้องจอง)
ขั้นสอน 1.นำภาพมาให้เด็กดู แล้วให้เด็กบอกว่าเห็นภาพอะไร เด็กๆรู้จักหรือไม่
             2.จากนั้นนำจำนวนแปรงสีฟัน และกำกับด้วยเลขฮินดูอารบิค
             3.ครูตั้งเกณฑ์เพื่อให้เด็กแยกประเภท และให้ต่อด้วยจับ 1 ต่อ 1 ใช้คำว่ากับเด็กเพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น มากกว่า น้อยกว่า
ขั้นสรุป ท่องคำคล้องจองและสรุปเรื่องชนิดของแปรงสีฟัน

Group 2 Composition of Butterfly

สอนเรื่อง ส่วนประกอบของผีเสื้อ
ขั้นนำ Music "สวัสดีแบบไทย ไทย   แล้วก็ไปแบบสากล
                       สวัสดีทุก ทุกคน          แบบสากลแล้วก็แบบไทย"
ขั้นสอน 1.คำคล้องจอง(ถามคำถามในคำคล้องจอง)
             2.นำภาพผีเสื้อมาให้เด็กดู ลักษณะของผีเสื้อ (ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก)
             3.ทำตารางแสดงลักษณะของผีเสื้อ (โดยเลือกผีเสื้อมาเปรียบเทียบ2 ชนิด)
             4.ทำยูเนี่ยนเพื่อเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นสรุป ท่องคำคล้องจองและอธิบายลักษณะของผีเสื้อ                                                             

Group 3 Kind of Banana

สอนเรื่อง ชนิดของแปรงสีฟัน
ขั้นนำ Music ฺBanana "กล้วยคือผลไม้               ใครๆก็ชอบกินกล้วย
                                    ค้างคาวช้างลิงฉันด้วย   กินกล้วยมีวิตามิน" (ถามเด็กเกี่ยวกับชนิดของกล้วยในเพลง)
ขั้นสอน 1.นำภาพกล้วยมาให้เด็กดู
             2.นำภาพมาติดที่กระดาน ให้เด็กนับพร้อมกำกับเลขฮินดูอารบิค
             3.แบ่งเกณฑ์ของกล้วย 1 เกณฑ์เท่านั้น
             4.ให้เด็กแยกประเภทออกจากกัน
             5.จากนั้นให้เด็กได้รู้คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น มากกว่า น้อยกว่า
ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันอภิปรายชนิดของกล้วยและร้องเพลงกล้วยอีกรอบ
Activity 3 Cooking
 Takoyaki Egg
จะมีทั้งหมด 4 ฐาน
ฐานละประมาณ 5 คน โดยมีครูและครูพี่เลี้ยงควรดูแล
Group 1 เตรียมอุปกรณ์ (Crab stick,Coriander and Carrot) 
Group 2 โต๊ะเครื่องปรุง 
     1.Egg
     2.Rice
     3.Sauce
     4.Crab stick
     5.Carrot
     6.Coriander
Group 3 สำหรับทำTakoyaki
Group 4 ทำภาชนะสำหรับใส่Takoyaki

Activity 4 Research
1. นางสาวพรวิมล ปาผล
ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา Click Here 
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
                     2.เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทำกิจกรรม
เครื่องมือ 1.แผนการจัดกิจกรรม
                2.แบบทดสอบ
ผลการจัดกิจกรรม ใช้ประสบการณ์ตรง คิดแบบปฏิบัติ แสดงออกและลงมือปฏิบัติ คิดหาคำตอบ เด็กค้นคว้าในแต่ละกิจกรรมพัฒนาเพิ่มขึ้นก่อนการทดลอง
ทักษะวิทยาศาสตร์   1.ทักษะการสังเกต
                                 2.ทักษะการวัด
                                 3.ทักษะการลงความเห็น
2.นางสาวอริสรา ยุนุห์
ชื่อวิจัย ผลการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
นิยามศัพท์ 1.การสังเกต รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.นางสาวทิพย์มณี สมศรี
ชื่อวิจัย การจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
นิยามศัพท์ ทักษะการสังเกต ความสามารถในการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 
แนวคิด กิจกรรมนอกห้องเรียนมีผลต่อการเีรยนของเด็ก เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ
วิธีการจัด 1.ครูพาไปศึกษาในที่กำหนด สังเกตสิ่งรอบตัว ใช้คำถาม
                2.ใช้แบบประเมิน กลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มควบคุม
                3.เปรียบเทียบคะแนน
4.นางสาวกมลมาศ จันทร์ศรี
ชื่อวิจัย การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ Click Here
นิยามศัพท์ 1.การจำแนก ความสามารถในการแยกสิ่งของต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องยึดหลักโครงสร้าง รูปร่าง หน้าที่ ลักษณะ
                  2.การจัดประเภท แบบทดสอบการหาเกณฑ์ที่เป็นกลุ่มเดียวกัน
                  3.การอนุกรม ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆให้สอดคล้องกัน เป็นเหตุเป็นผล
                  4.การคิดเชิงเหตุผล รับรู้เข้าใจจากประสบการณ์เดิม เป็นข้อมูลในการคิดพิจารณา เป็นกระบวนการใหม่

Applications 
     1.เวลาจะเขียนแผน เราต้องถามตนเองว่า มีการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ด้วย
     2.การเขียนคำคล้องจอง เวลาที่เราเขียนอาจใช้ภาพแทนตัวอักษรได้
     3.การที่เราจะสอนเด็กให้เข้าใจได้นั้นครูต้องมีการศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดีก่อน
Evaluate
   Me  เข้าเรียนตรงเวลา และมีความพร้อมในกาารเรียน ร่วมการตอบ Question.in Class i'm so very happy 
   Friends 
     เพื่อนมีความพร้อมในการเรียน ตอบคำถามในห้องเรียน และเวลาออกมานำเสนอวิจัยถึงยังไม่ถูกต้องแต่ก็พยายามแก้ไขปัญหาและทำออกมาได้
   Teacher
      คำคมจากอาจารย์ "เวลาจะสอนหรือทำอะไร เราต้องมีหลักการสอน" "ตำรวตจับคนผิดตาย 1 คน แต่ถ้าครูสอนผิดประเทศล้มจ่มได้"
Technical of Teacher 
     อาจารย์มีการสาธิตวิธีการทำcooking เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกันและการไม่เข้าใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Research

Critical Thinking Ability Of Early Childhood Children Enhancing Out Door Science Process Actives
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ผู้วิจัย สุมาลี หมวดไธสง
จุดมุ่งหมายในการวิจัย
   เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยายาศาสตร์นอกห้องเรียน
กลุ่มตัวอย่าง
   นักเรียนชาย-หญิง อายุ5-6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2553 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) โดยการจับสลาก นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่่ 3 มา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คนจากจำนวนห้องเรียน 5 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1.แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
   2.แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย
     2.1 การจัดหมวดหมู่
     2.2 การหาความสัมพันธ์
นิยามศัพท์เฉพาะ
   1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ5-6ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 
   2.การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการศึกษาหาความรู้ผ่านกระบวนการวิทยาศาตร์โดยพานักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน เพื่อศึกษาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกห้องเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเกิดความรู้จากประสบการณ์ตรงในสภาพที่เป็นจริง จะบูรณาการการจัดกิจกรรมแต่ละวันตามขั้นตอนดังนี้
          1.ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน โดยการสนทนากระตุ้นให้เด็กคิด
          2.ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นการนำเอาวิธีการสอนแบบเล่านิทาน แบบอภิปราย แบบสาธิต การเล่นเกม การปฏิบัติ ทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนเข้ามาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาคำตอบ
          3.ขั้นสรุปผล เป็นการสรุปผลหลังจากการเล่านิทาน การอภิปราย การสาธิต การเล่นเกม การปฏิบัติทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนโดยเด็กและครูสนทนาร่วมกันเพื่อนำไปสู่การสรุปผล
   3.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งดสิ่งหนึ่งเพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริง
ระยะเวลาในการวิจัย
   ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 40 นาที
ข้อเสนอแนะ
   ครูควรมีบทบาทในเารเตรียมความพร้อมเด็กและกระตุ้นการทำกิจกรรมต่างๆ โดยให้เด็กมีการกระตือรือร้น เพื่อให้เกิดทักษะด้านต่างๆและควรสังเกตการทำงานของเด็กจากการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็นและครูก็มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก


Class 12

Science Experience Management for Early Childhood

Go to class :13.00 PM.      Out to class:16.05 PM.
Date: 8 November 2014
Activity

Group 1 Composition of Frog


สอนเรื่อง ส่วนประกอบของกบ
ขั้นนำ นำด้วยเพลงกบ
ขั้นสอน ถามเกี่ยวกับรูปกบที่นำมาให้เด็กดู 

Group 2 Benefit and Precautions of  Cabbage 

สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวังของกะหล่ำปลี
ขั้นนำ นำด้วยเพลงกะหล่ำปลี
ขั้นสอน สอนนิทานประโยชน์และโทษของกะหล่ำปลี

Group 3 Benefit of Orange


สอนเรื่อง ประโยชน์ของส้ม
ขั้นนำ ใช้เพลงนำเข้าสู่บทเรียน ตบมือแปะๆ เรียกแพะเข้ามา แพะไม่มาปิดประตูรูดซิป
ขั้นสอน  นำภาพส้มและประโยชน์ของส้มมาให้เด็กดู หลังจากนั้นให้เด็กทำน้ำส้มที่เกิดจากประโยชน์ของส้ม ให้เพื่อนๆนักศึกษาเป็นตัวแทนนักเรียนมาลองทำน้ำส้ม

Group 4 Benefit of jasmine (Cooking)

สอนเรื่อง การนำดอกมะลิมาเป็นประโยชน์ประกอบอาหาร
ขั้นนำ นำด้วยคำคล้องจองประโยชน์ของดอกมะลิ
ขั้นสอน ให้ครูและเด็กร่วมกันทำดอกมะลิชุปแป้งทอด
ขั้นสรุป ครูและเด็สรุปคำคล้องจอง พร้อมทั้งสรุปขั้นตอนการทำดอกมะลิชุปแป้งทอด

Group 5 Maintenance of Chicken


สอนเรื่อง การดูแลรักษาไก่
ขั้นนำ นำด้วยคำคล้องจองไก่
     "ก ไก่กุ๊กๆ              เช้าอยู่ทุ่งนา
      สายอยู่ทุ่งหญ้า    เย็นพาเข้าสุ่ม
      เดินย่องยุ่มๆ         คุ้ยเขี่ยอาหาร
      มีทั้งพืชผัก           ข้าวเปลือกข้าวสาร
      ที่เป็นอาหาร         ทั้งหนอนไส้เดือน
      แล้วทุกหกเดือน   ต้องฉีควัคซีน
      เพื่อป้องกันโรค    ให้ไก่แข็งแรง"
ขั้นสอน ใช้คำถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงและถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับไก่ จากนั้นนำมาเขียนเป็นMind map
ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันเต้นเพลงจังหวะไก่    

Group 6 Benefit of fish

สอนเรื่อง ประโยชน์ของปลา
ขั้นนำ บอกประโยชน์ของปลาทู
ขั้นสอน ครูและเด็กร่วมกันทำปลาทูทอด


Applications
   1.ครูต้องรู้จักประสบการณ์เดิมของเด็กจากการใช้คำถามกระตุ้น
   2.เวลาจะสอนครูควรมีวิธีการดึงดูดความสนใจกับเด็ก ให้เด็กมาสนใจในสิ่งที่ครูกำลังสอน
   3.รู้จักการจัดลำดับการสอนเป็นฉากๆ ไล่ลำดับขั้นและทบทวน จะสามารถทำให้เรามีความเก่งและชำนาญในการสอนเด็กได้
Evaluate
   Me มีความพร้อมในการนำเสนอการสอนแผนการจัดประสบการณ์ ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี แต่ก็อาจขาดความชำนาญในการสอน ทำให้ยังออกมาไม่ดีมากนัก แต่ก็พยายามสอนให้ออกมาอย่างเต็มที่เต็มความสามารถของเรา
   Friends
     เพื่อนแต่ละกลุ่มมีเทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน การนำเข้าสู่บทเรียนที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นทั้งเพลงและคำคล้องจอง เพื่อนทำออกมาได้เป็นอย่างดีแต่อาจมีบางกลุ่มซ้อมมาน้อยจึงทำให้การนำเสนอออกมาไม่ดีเท่าไหร่จะทุกคนก็ตั้งใจเต็มที่ สู้ๆ
   Teacher
     อาจารย์จะสอดแทรกการสอนให้กับนักศึกษาตลอดจนเทคนิคที่จะให้นักศึกษาไปปรับใช้ เช่น การบันทึกคำพูดของเด็กขณะที่เด็กทำกิจกรรม เป็นต้น
Technical of Teacher
   อาจารย์มีเทคนิคการใช้คำถามกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีการกระตุ้นความคิดของตนเอง และจะทำให้นักศึกษานำเทคนิคนี้ไปใช้ได้และอีกอย่างคือการสอนแบบสาธิตกันภายในห้องเรียน


วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Thai Teacher TV

Thai Teacher TV: เรื่องสอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์



สรุปได้ดังนี้
   การเรียนรู้Science จะทำให้เด็กได้รู้จักทักษะการสังเกตและรวบรวมปัญหาต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งสมมุติฐาน หลังจากนั้นจะทำให้เด็กอยากที่จะทดลองเป็นสิ่งที่เด็กชอบทำมาก เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยตรง เด็กจะรู้สึกตื่นเต้นกับการทดลอง
   จิตวิทยาศาสตร์ คือ เด็กนั้นเป็นคนช่างสังเกต ถี่ถ้วนอย่างละเอียดจาากหลายๆคำตอบที่แตกต่างกันให้เด็กและครูได้ปฏิบัติร่วมกัน จัดสิ่งที่ใกล้ตัวกับเด็ก
   การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์
     การที่ทำให้เด็กรักในวิชาวิทยาศาสตร์ เรียนแล้วไม่น่าเบื่อ เด็กกอยากที่เรียนรู้ และอยากถามครู เด็กเกิดความสนุกสนาน โดยครูสร้างบรรยากาศครูต้องเตรียมอุปกรณ์การทดลอง
   การวัดผลจิตวิทยาศาสตร์
     เด็กสังเกตสิ่งรอบๆตัวมากขึ้น เช่น สีที่แตกต่างกัน ของบุคคลในครอบครัว นำมาเป็นปัญหาและเกิดการค้นคว้าหาคำตอบ สังเกตเด็กว่ามีความเข้าใจเนื้อหามากน้อยแค่ไหน และสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่บ้าน
   ธรรมชาติของเด็ก
     ชอบสงสัย ชอบซักถาม สนใจในสิ่งที่ครูสอน และอยากค้นคว้าหาคำตอบ
   การสอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเป็นนามธรรม จากสิ่งใกล้ตัวไปสิ่งไกลตัว ครูมีเทคนิคในการสอน ที่สั้นกระชับ การทดลองจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานตื่นเต้นให้เด็กได้ลงกระทำ การสร้างบรรยากาศการวางแผนที่ดี การสร้างสิ่งเร้าให้กับเด็ก เช่นคำพูดการชมเชย