Welcome to blogspot is Miss Bunyaporn Ponlakorn

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Class 7

Science Experiences Management for Early Childhood
Go to class:12.50 PM.    Out to class:15.34 PM.
Date 3 October 2014

Activity 1 ทิชชู่ เดินได้
Step 1
เตรียมแกนทิชชู่และกรรไกร
Step 2
ตัดแบ่งแกนทิชชูเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
Step 3
นำแกนทิชชู่มา 1 ส่วนเพื่อนำมาทำของเล่นวิทยาศาสตร์
Step 4
นำกระดาษมาตัดเป็นส่วนๆ
Step 5
นำแกนทิชชู่มาวัดและวาดให้เท่ารัศมีวงกลมของแกนทิชชู่ จากนั้นวาดรูปในวงกลมตามใจชอบ
Step 6
ตกแต่งรูปภาพตามใจชอบ และตัดกระดาษออกเป็นวงกลมตามรูป
Step 7
เตรียมเชือกไหมพรม หรือด้ายสีตามต้องการ
Step 8
ตัดเชือกไหมพรมประมาณ 1 วา
Step 9
นำเชือกไหมพรมที่ได้ไปรอยใส่รูแกนทิชชู่ตามรูปที่ได้จาะรูไว้
Step 10
นำกระดาษที่เราตัดออกมาแปะที่แกนทิชชู่ ตามภาพ
Step 11
เสร็จสมบูรณ์ สามารถนำไปเล่นได้

ผลการทำกิจกรรม
   Children จะได้เรียนรู้เรื่องพลังงานศักย์ (Potential Energy) และพลังงานจลน์ (Kinetic Energy) ที่จะทำให้วัตุเคลื่อนที่ตามแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ที่ทำมุมองศากับวัตถุ จะทำให้ Children นั้นเรียนรู้ภายแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism) ที่ให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองจากการเล่นและการค้นหาคำตอบ


Activity 2 Article of Friend
1.Mr.Worramit Supap
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพร Click Here 
    การจัดกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร จากประสบการณ์ตรง ประสาทสัมผัสทั้ง5 สังเกต เรียนรู้ เปรียบเทียบ การชั่ง การตวง เด็กจะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ จนสามารถนำมาใช้อย่างมีความหมาย ใช้คำถามเชิงเปรียบเทียบรู้คุณประโยชน์ รู้เรื่องอาหารสุขภาพ

2.Miss Kanyarat Nongok
เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา Click Here
     แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
     เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
-ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
-สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
-การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
-แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
      แสงสว่างและเงา เป็นเรื่องที่เด็กเห็นว่าเกิดขึ้นในชีวิต เป็นความจริงว่ามีอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ควรสอนให้รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร ในหลัก สูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศ้กราช 2546 ได้กำหนดสาระที่ควรเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัวไว้ให้เด็กเรียน และกล่าวถึงแนวคิดที่ควรเกิด หลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติว่ามีอะไร เราพึ่งพาสิ่งเหล่านั้นเพื่อการดำรงชีวิตอย่างไร สิ่งเหล่านั้นมีรูปร่าง ลักษณะอย่าง ไร ให้คุณและโทษอย่างไร เรามีเหตุผลอะไรที่ควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ นอกจากนี้ การเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวเป็นการส่ง เสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพราะวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวน การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบๆตัวเขา เป็นการเกิดความรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรง ขณะเดียวกัน เมื่อเด็กเรียนวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้รับการพัฒนาคุณ ลักษณะที่สำคัญตามวัย

3.Miss Sunisa butdaruam 
เรื่อง การสอนไฟฉาย  Click Here
     การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

4.Miss Kanyarat Tuithangsat
เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity)  
     การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

Applications
     เราควรรู้จักการตั้งคำถามที่เชิงสร้างสรรค์และให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิด และเวลาจะอ่านอะไรเราควรจับใจความสำคัญของตัวเองหรือเลือกวิธีการที่จำของตัวเองอาจจะเป็น mind map 
Evaluate
   Me
     มาเรียนก่อนเวลา และมีความตั้งใจในการตอบคำถามเพื่อนและอาจารย์
   Friends
     เพื่อนทุกคนมีการแสดงความคิดเห็นและการกล้าแสดงออก ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
   Teacher
     อาจารย์มีความผ่อนคลายและrelax มากขึ้น มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
Technical of Teacher
     การสอนโดยลงมือปฏิบัติจริง (Leaning by doing), การสาธิตแบบขั้นตอน, การอภิปราย,การใช้คำถามกระตุ้น,การเรียนรู้ด้วยตนเอง,การนำเสนอความรู้,การบรรยาย
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น