Welcome to blogspot is Miss Bunyaporn Ponlakorn

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

Class 6

Science Experiences Management for Early Childhood


Go to class:13.00 PM.     Out to class:17.00 PM.
Date 26 September 2014

Activity 1 กระดาษหมุนได้
Step 1
เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ กระดาษ กรรไกร คลิบหนีบกระดาษ
Step 2
พับกระดาษเป็น2ส่วนเท่าๆกัน
Step 3
ตัดกระดาษตามรูป ไปกึ่งกลางครึ่งแผ่น
Step 4
พับกระดาษตรงปลายด้านที่ไม่ได้ตัดปลาย พับไปประมาณ1ซม.
Step 5
นำคลิบหนีบกระดาษมาหนีบตรงปลายด้านที่พับ เสร็จสมบูรณ์ ไปนำโยนได้เลย


ผลการทำกิจกรรม
     เมื่อโยนกระดาษสาเหตุที่กระดาษหมุนเนื่องจากระหว่างช่องกระดาษจะมีอากาศผ่านเข้ามาทำให้เกิดการหมุนของกระดาษขณะปะทะกับลม กระดาษจึงหมุนและตกลงสู่พื้นได้
Activity 2  Article of friends
1.Miss Butsarakam Saruno
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย Click Here
     หลักการและความสำคัญ ทุกคนมีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งรอบตัวของตนเอง ให้คนพัฒนาวิธีคิด เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     เป้าหมายสำคัญ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
     บทบาท การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.Miss Mathurin Onpim
     กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  
1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย
การทดลองคือ ดอกอัญชันทดสอบกรดด่าง
3.Miss Jutamas Kadnimit
     วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราเด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

4.Miss Pornwalan Kongsut 
     การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง 
การสอนเรื่องอากาศมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้คือ 
1.เด็กได้รับการพัฒนาเจตคติแห่งความสนใจกระตือรือร้นเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อใช้และรักษาธรรมชาติอย่างเหมาะสมสืบต่อไป
2.เด็กจะได้เรียนข้อความรู้เรื่องของอากาศเพื่อพัฒนาความคิดจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องอากาศ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่จำเป็นต่อชีวิตจากประสบการณ์ตรง
4.เด็กจะมีความสนุก ความสุขจากการเรียนเรื่องอากาศที่น่าเรียน ตอบข้อสงสัยในสิ่งที่มองไม่เห็น แต่สิ่งนั้นมีอยู่ ชวนให้เด็กช่างสงสัย และคิดหาคำตอบต่อไป
5.การเรียนเรื่องอากาศเป็นการส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้มีความรู้ ความคิด มีความสนใจต่อธรรมชาติ ด้วยความสนุกและมีความสุขที่จะเรียนรู้
5.Miss Netnapa Chaideang 
   ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป  จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ    
     ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
-ฝึกสังเกตด้วย ตา
-ฝึกสังเกตด้วย หู     
-ฝึกสังเกตด้วย จมูก   
-ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น  
-ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง 


Activity 3 Mind Map หน่วยการเรียนรู้
มีทั้งหมด 9 หน่วยการเรียนรู้ดังนี้

1.เรื่องกบ (Frog)

2.เรื่องไก่ (Chicken)

3.เรื่องปลา (Fish)

4.เรื่องกล้วย (Banana)

5.เรื่องแปรงสีฟัน (Toothbrush)

6.เรื่องกะหล่ำปลี (Cabbage)

7.เรื่องส้ม (Orange)

8.เรื่องผีเสื้อ (Butterfly)

9.เรื่องมะลิ (jasmine)

Group Me is jasmine


Activity 4 เตรียมแกนทิชชู่มา 2 คน ต่อ 1 อัน
                 ดู VDO เรื่องอากาศ
                 แก้แผนลงบล๊อค
                 แบ่งสมาชิกในกลุ่ม แผนแต่ละวัน

Applications
   ครูต้องใจเย็นในเวลาทำกิจกรรม ให้เด็กได้มีเวลาในการคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ครูต้องมีการวางแผนเป็นนักออกแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย การจัดการเรียนการสอนไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียนครูควรพาเด็กไปศึกษาสิ่งแวดล้อมภายนอกห้องเรียนด้วย
Evaluate
   Me
     Funny in my class because my teacher pretty and kind . My friends is so happy. i love my class.
   Friends
     เพื่อนๆสนุกกับการทำกิจกรรมในห้องเรียน ตอบคำถามกับอาจารย์ด้วยความสนุกสนาน เพื่อนๆรู้สึกผ่อนคลายกับการเรียนวิชานี้มากขึ้น เพราะอาจารย์สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากขึ้น
   Teacher
      อาจารย์มีวิธีการสอนที่หลายหลายทั้งสื่อต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทดลองค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การนำเสนอวัสดุเหลือใช้มาReuse
Technical of Teacher
     อาจารย์จะให้นักศึกษาค้นหาคำตอบจากการทำกิจกรรมด้วยตนเองซึ่งนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต และมีการให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น