Welcome to blogspot is Miss Bunyaporn Ponlakorn

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Class 11

Science Experiences Management for Early Childhood
Go to class :12.55 PM.     Out to class : 16.50 PM
Date 24 October 2014

Activity 1    Toy Science Friends


Toy Science
1.จรวดด้วยแรงเป่า              2.Car Toy  (รถของเล่น)         
3.โยนไข่ไม่แตก                  4.ไหมพรมเต้นระบำ
5.กระป๋องโยกเยก               6.ป๋องแป๋ง
7.Fish Eye Circle(ปลาตากลม)            8.โมบายสายรุ้ง
9.Glass Jump (แก้วกระโดด)10.ฟองสบู่แสนเพลิน
11.นักดำน้ำ                          12.ขวดน้ำหนังสติ๊ก
13.Frog Jump (กบกระโดด) 14.จรวดหลอดกาแฟ
15.บูมเมอแรง                       16.Car Reel (รถหลอดด้าย)
17.ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง 18.จั่กจั่น
19.ธนูไม้ไอศกรีม                 20.กลองแขก
21.กระป๋องผิวปาก               22.ประทัดกระดาษ
23.ตุ๊กตาล้มลุก                    24.รถล้อเดียว
25.เรือโจรสลัดลอยน้ำ         26.เป่ารถ
27.กังหันบิน                        28.เรือใบไม่ล้ม
29.ไก่กระต๊าก                     30.ทะเลในขวด
31.แท่นยิง                          32.แก้วส่งเสียง
33.Maze (เขาวงกต)           34.กงจักรมหัศจรรย์
35.Mouse Run (หนูวิ่ง)
Activity 2
แผนการจัดประสบการณ์

Applications
   1.การที่เรามีข้อสงสัยอะไรภายในห้อง ให้ถามเพื่อให้เราเกิดความจริง(Real)
   2.เมื่อมีToy dangerous with Children เราควรบอกข้อตกลงและการระมัดระวัง หรือให้นำไปเล่นที่โล่งเหมาะสมกับการดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง และให้เด็กมีบริเวณการเล่นที่กว้างขว้าง
   3.การแยกเกณฑ์ในแต่ละอย่าง ควรมี2เกณฑ์ให้กับเด็กเท่านั้น
   4.การที่เราสอนอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ให้กับเด็ก
Evaluate
   Me   มีความพร้อมในการเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์และเมื่ออาจารย์ถามก็ตอบคำถามร่วมกับอาจารย์ เพื่อที่จะทำให้เราสามารถจดจำความรู้ในห้องเรียนได้นอกจากการนั่งฟังเพียงอย่างเดียว
   Friends
     เพื่อนๆบางคนก็ตั้งใจเรียน บางคนก็นั่งคุยแต่เมื่ออาจารย์ให้ทำกิจกรรมลงมือปฏิบัติเพื่อนๆก็สนใจ และร่วมกันตอบคำถามภายในห้องเรียน 
   Teacher
     อาจารย์มีการสอนคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักศึกษา ในเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรคำนึงถึงคนอื่นหรือตนเองมากเกินไปทุกอย่างต้องมีการปรับให้เหมาะสม และอาจารย์มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
Technical of Teacher
     การสอนโดยการอภิปรายและสอดแทรกเนื้อหาการประดิษฐ์ของเล่นคือควรมีความไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป เป็นของเล่นที่เด็กสามารถประดิษฐ์ได้ ให้เด็กเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์



วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วงล้อโยกเยก

วงล้อโยกเยก

Instrument

Step 



















นำไปให้เด็กเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์





วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Class 10

Science Experiences Management For Early Childhood

Go to class: 12.50 PM.        Out to class:15.00 PM.
Date 16 October 2014
To day. สอนชดเชย


แบ่งงานการสาธิตการสอนแผนการสอน
วันที่ 1 หน่วยกล้วยและหน่วยแปรงสีฟัน
วันที่ 2 หน่วยกบและหน่วยผีเสื้อ
วันที่ 3 หน่วยกะหล่ำปลีและหน่วยไก่
วันที่ 4 หน่วยส้มและหน่วยปลา
วันที่ 5 หน่วยดอกมะลิ

Applications
     1.การเขียน เราจะเขียนจากซ้ายไปขวา เพราะการอ่านหนังสือของเก็กเป็นต้นแบบของเด็ก
     2.เทคนิคการสอนที่หลากหลายของอาจารย์นำไปเป็นต้นแบบได้เป็นอย่างดี
     3.ของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถนำไปสอนเด็กในหน่วยต่างๆได้ 
Evaluate
   Me มีการเขียนเรียนก่อนเวลามีการเตรียมพร้อมในการเรียน ฝึกเขียนแผนการสอนมาเป็นอย่างดีและร่วมตอบคำถามในห้องเรียนเท่าที่จะตอบได้
   Friends
     ถึงแม้วันนี้จะเป็นวันหยุดแต่เพื่อนๆก็มาเรียน มีการร่วมกันตอบคำถามในห้องเรียนและเขียนแผนการสอนมาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนและนำไปแก้ไข
   Teacher
     อาจารย์มีการเตรียมในการสอนมาเป็นอย่างดี ใช้คำพูดซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดรวบยอดในการเรียนในวิชานี้และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
Technical of Teacher
     อาจารย์ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถามจากประสบการ์ณเดิมของนักศึกษาและการยกตัวอย่างในการสอน การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเกิดการคิดและได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

Class 9

Science Exp้้eriences Management For Early Childhood

Go to class: 13.15 PM.       Out to class: 15.40 PM.
Activity

เด็กจะทำกิจกรรมผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยจะส่งความรู้ไปที่สมองก็จะประมวลเป็นความรู้และเมื่อนำความรู้ไปใช้ก็จะกลายเป็นการเรียนรู้


Applications
   การเขียนสรุปเนื้อหาเป็น mind map จะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในเรื่องของภาษา และเวลาที่จะเลือกเรื่องที่จะสอนเราต้องดูบริบทของสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามที่ของตนเอง เรื่องเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กสนใจเพื่อเสริมประสบการณ์ให้เด็กเกิดความรู้และเชื่อมโยงไปสู่การประยุกต์ใช้ในอนาคต
Evaluate
   Me วันนี้มีการเตรียมพร้อมในการให้อาจารย์ตรวจแผน นำคู่มือหลักสูตร และกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์มาเพื่อทำการศึกษาให้สอดคล้องกับการเขียนแผนการสอน
   Friends 
     มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการคิดของตนเอง มีความคิดที่หลากหลายและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเขียนแผนการสอนของตนเองได้เป็นอย่างดีและอาจมีบางกลุ่มที่ยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในการเขียนแผนแต่ก็แก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
   Teacher
     อาจารย์มีการเล่นมุกตลกๆ เพื่อให้นักศึกษามีความสุขในการเรียน มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดในเรื่องการเขียนแผนการสอน
Technical of teacher
     ในตอนแรกอาจารย์สอนด้วยการบรรยายข้อความคิดของอาจารย์และยังมีการให้นักศึกษาเสนอข้อความคิดของตนเอง และมีการอภิปรายความคิดเห็นของอาจารย์ร่วมกับนักศึกษา



Midterm Exam

Science Experiences Management for Early Childhood
 Go to class: -            Out to class: -
Date 10 October 2014

หมายเหตุ
Midterm Exam





วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Class 7

Science Experiences Management for Early Childhood
Go to class:12.50 PM.    Out to class:15.34 PM.
Date 3 October 2014

Activity 1 ทิชชู่ เดินได้
Step 1
เตรียมแกนทิชชู่และกรรไกร
Step 2
ตัดแบ่งแกนทิชชูเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
Step 3
นำแกนทิชชู่มา 1 ส่วนเพื่อนำมาทำของเล่นวิทยาศาสตร์
Step 4
นำกระดาษมาตัดเป็นส่วนๆ
Step 5
นำแกนทิชชู่มาวัดและวาดให้เท่ารัศมีวงกลมของแกนทิชชู่ จากนั้นวาดรูปในวงกลมตามใจชอบ
Step 6
ตกแต่งรูปภาพตามใจชอบ และตัดกระดาษออกเป็นวงกลมตามรูป
Step 7
เตรียมเชือกไหมพรม หรือด้ายสีตามต้องการ
Step 8
ตัดเชือกไหมพรมประมาณ 1 วา
Step 9
นำเชือกไหมพรมที่ได้ไปรอยใส่รูแกนทิชชู่ตามรูปที่ได้จาะรูไว้
Step 10
นำกระดาษที่เราตัดออกมาแปะที่แกนทิชชู่ ตามภาพ
Step 11
เสร็จสมบูรณ์ สามารถนำไปเล่นได้

ผลการทำกิจกรรม
   Children จะได้เรียนรู้เรื่องพลังงานศักย์ (Potential Energy) และพลังงานจลน์ (Kinetic Energy) ที่จะทำให้วัตุเคลื่อนที่ตามแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ที่ทำมุมองศากับวัตถุ จะทำให้ Children นั้นเรียนรู้ภายแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism) ที่ให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองจากการเล่นและการค้นหาคำตอบ


Activity 2 Article of Friend
1.Mr.Worramit Supap
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพร Click Here 
    การจัดกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร จากประสบการณ์ตรง ประสาทสัมผัสทั้ง5 สังเกต เรียนรู้ เปรียบเทียบ การชั่ง การตวง เด็กจะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ จนสามารถนำมาใช้อย่างมีความหมาย ใช้คำถามเชิงเปรียบเทียบรู้คุณประโยชน์ รู้เรื่องอาหารสุขภาพ

2.Miss Kanyarat Nongok
เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา Click Here
     แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
     เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
-ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
-สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
-การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
-แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
      แสงสว่างและเงา เป็นเรื่องที่เด็กเห็นว่าเกิดขึ้นในชีวิต เป็นความจริงว่ามีอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ควรสอนให้รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร ในหลัก สูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศ้กราช 2546 ได้กำหนดสาระที่ควรเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัวไว้ให้เด็กเรียน และกล่าวถึงแนวคิดที่ควรเกิด หลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติว่ามีอะไร เราพึ่งพาสิ่งเหล่านั้นเพื่อการดำรงชีวิตอย่างไร สิ่งเหล่านั้นมีรูปร่าง ลักษณะอย่าง ไร ให้คุณและโทษอย่างไร เรามีเหตุผลอะไรที่ควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ นอกจากนี้ การเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวเป็นการส่ง เสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพราะวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวน การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบๆตัวเขา เป็นการเกิดความรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรง ขณะเดียวกัน เมื่อเด็กเรียนวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้รับการพัฒนาคุณ ลักษณะที่สำคัญตามวัย

3.Miss Sunisa butdaruam 
เรื่อง การสอนไฟฉาย  Click Here
     การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

4.Miss Kanyarat Tuithangsat
เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity)  
     การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

Applications
     เราควรรู้จักการตั้งคำถามที่เชิงสร้างสรรค์และให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิด และเวลาจะอ่านอะไรเราควรจับใจความสำคัญของตัวเองหรือเลือกวิธีการที่จำของตัวเองอาจจะเป็น mind map 
Evaluate
   Me
     มาเรียนก่อนเวลา และมีความตั้งใจในการตอบคำถามเพื่อนและอาจารย์
   Friends
     เพื่อนทุกคนมีการแสดงความคิดเห็นและการกล้าแสดงออก ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
   Teacher
     อาจารย์มีความผ่อนคลายและrelax มากขึ้น มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
Technical of Teacher
     การสอนโดยลงมือปฏิบัติจริง (Leaning by doing), การสาธิตแบบขั้นตอน, การอภิปราย,การใช้คำถามกระตุ้น,การเรียนรู้ด้วยตนเอง,การนำเสนอความรู้,การบรรยาย